Popular Posts

Thursday, April 25, 2013

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง


ท้อ



ชื่ออื่น : หุงหม่น, หุงคอบ (เชียงใหม่), มักม่วน, มักม่น (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Nectarine, peach
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica Batsch.
วงศ์ : ROSACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น : เป็นพรรณไม้ผลัดใบ มีขนาดสูงประมาณ 8 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งอ่อนจะมีผิว
เปลือกเกลี้ยงไม่มีขน เป็นสีน้ำตาลแดง หรือสีเขียวอ่อน

ใบ : มีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบจักตื้นเล็กน้อย ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 3-6 นิ้ว และความยาวของก้านใบประมาณ 7-12 มม.

ดอก : ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามบริเวณกิ่ง ลักษณะของดอกมีกลีบเป็นสีชมพูอ่อน ดอกหนึ่ง มี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปมนรีที่โคนดอกมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก มีสีแดง ผิวนอกกลีบมีขน ตรงกลางดอกมีเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นเส้นฝอยจำนวนมาก ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายแหลม เปลือกนอกของผลมีสีเขียวออกเหลือง ๆ และมีขนสั้น ๆ นิ่มปกคลุม ภายในผลมีเมล็ด อยู่ 1 เม็ด มีลักษณะเป็นรูปมนรี คล้าย ๆ กับรูปหัวใจ เปลือกเมล็ดแข็ง มีร่องลึก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นได้ดีในบริเวณที่ที่มีอากาศเย็นชื้น มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ก้านอ่อน ผลสุก เมล็ด เปลือกราก ราก และยางจากลำต้น

สรรพคุณทางสมุนไพร

      1. ราก เปลือกรากหรือต้น ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม แล้วนำไปต้มกิน หรือใช้สำหรับภายนอก โดยต้มเอาน้ำชะล้าง ราก เปลือกรากหรือต้นนั้น จะมีรสขม ใช้รักษาโรคดีซ่านและตาเหลือง โดยใช้รากหั่นเป็นฝอย ต้มกินตอนอุ่น ๆ ขณะที่ท้องว่าง ใช้รักษาเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ ใช้รากอ่อนสีขาว ผสมน้ำตาลแดงพอประมาณ แล้วตำพอกตามบริเวณที่เจ็บ นอกจากนี้ยังเป็นยารักษาประจำเดือนไม่ปรกติ ปวดข้อแผลบวม อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง และโรคริดสีดวงทวาร

        2. ใบ ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำไปต้มน้ำกินหรือใช้สำหรับภายนอก โดยการตำพอก และต้มเอาน้ำชะล้างใบนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการปวดหัวจากลมร้อน ใช้ใบตำพอก เป็นในรูจมูก ให้ใช้ใบอ่อนตำ แล้วอุดรูจมูกที่เป็น บริเวณตาบวม ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำทา ตามบริเวณที่บวมเป็นกลากตามบริเวณหน้าและตัว ให้ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำทา รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้ใบต้มเอาน้ำชะล้างบ่อย ๆ หรือจะใช้รากก็ได้ รักษาโรคอหิวาตกโรค ปวดท้อง อาเจียนให้ใช้ใบหั่นเป็นฝอย นำไปต้มกินตอนอุ่น ๆ เป็นปัสสาวะขัดหรือท้องผูก ให้ใช้ใบคั้นเอาน้ำกิน ครั้งละครึ่งชาม และยังใช้รักษาอาการไข้ โรคมาลาเรีย โรคผิวหนังเรื้อรังมีหนอง เป็นผื่นคันน้ำเหลือง และฆ่าหนอนแมลงที่แผล ใบมีสารจำพวก glycoside ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น C22H24O11, naringenin, guinic acid, lycopene มีแทนนินประมาณ 100 มก.% และกลัยโคซัยด์เล็กน้อย

      3. ดอก ใช้แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำไปต้มน้ำกินหรือใช้บดเป็นผงผสมกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการตำพอก หรือบดให้ละเอียดเป็นผงทา ดอกนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการท้องผูก ให้ใช้ดอกต้มน้ำกินบ่อย ๆ แทนน้ำชาได้ บรรเทาอาการปวดเอวและสะโพก ใช้ดอก รากเข็ก และข้าวสาร ต้มรวมกันให้สุก เอากากออก แล้วกินวันละ 3 เวลา โรคกระเพาะปัสสาวะ ขาบวมน้ำ ปวดเอว และไตมีน้ำคั่ง ใช้ดอกตากให้แห้ง ในที่ร่ม แล้วนำไปบดเป็นผงผสมกับเหล้าอุ่นกินครั้งเดียวหมด เป็นแผลหัวล้าน ใช้ดอกที่ตูมตากให้แห้งในที่ร่ม กับผลหม่อน บดเป็นผงใส่ไขมันหมูแล้วผสมให้เข้ากัน ใช้น้ำขี้เถ้าชะล้างตามบริเวณที่เป็นก่อน แล้วจึงเอายาที่เตรียมไว้ ใช้ทาบริเวณที่เป็น รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก ตามบริเวณหัวใจ ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้วบดเป็นผงกิน เป็นแผลผื่นคันที่ขา ให้ใช้ดอกผสมกับเกลือ แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำส้มสายชูพอก เป็นโรคพรรดึก ที่มีก้อนอุจจาระแห้งอุดลำไส้อยู่ หรือถ่ายไม่ออก ให้ใช้ดอกสดประมาณ 30 และลูกต๋าวประมาณ 90 กรัม นำไปต้มให้สุก แล้วกินตอนท้องว่าง 2 เวลา เช้าและหลังเที่ยง ท้องลั่นโครกครากแล้วถ่ายของเสียออกมา ในดอกนั้นจะมีสารkaempferol, coumarin, trifolin ส่วนดอกตูมจะมี naringenin

        4. ก้านอ่อน ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำไปต้มน้ำกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก หรือชะล้าง ก้านอ่อนนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการปวดตามบริเวณหน้าอก และหัวใจ ใช้ก้านหั่นแล้วแช่กับเหล้า แล้วต้มให้เหลือครึ่งชามแล้วตุ๋นกิน ใช้รักษาแผลในช่องปาก ให้ใช้ก้านสดเคี้ยวอมไว้ แล้วจึงบ้วนทิ้ง

       5. ผลสุก ใช้กิน เป็นผลไม้ จะมีรสเปรี้ยว ชุ่ม ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับสิ่งคั่งค้าง และช่วยหล่อลื่นในลำไส้ ในผลสุกประมาณ 100 กรัมนั้น จะมีสารพวก คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 7 กรัม โปรตีนประมาณ 0.8 กรัม ไขมันประมาณ 0.1 กรัม แคลเซียมประมาณ 8 มก. เหล็กประมาณ 1 มก. ฟอสฟอรัสประมาณ 20 มก. วิตามินประมาณ 6 มก. กรดนิโคตินิคประมาณ 0.7 มก. แคโรทีนราว ๆ 0.01 มก. และไทยอามีนประมาณ 0.01 มก. นอกจากสารนี้แล้วยังพบว่ามีน้ำมันระเหย กรดอินทรีย์ ที่มีตัวหลักคือ กรดซิตริค และกรดมาลิค ส่วนในพวกน้ำตาลนั้นได้แก่ fructose, glucose, xylose, sucrose เป็นต้น

        6. เมล็ด ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัมหรือจะทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงกินก็ได้ ใช้สำหรับภายนอกโดยการตำพอกเมล็ดนั้นจะมีรสขมและชุ่ม ใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปรกติหลังคลอด ใช้เมล็ด เอาเปลือกและส่วนที่แหลมออก และรากบัว นำไปต้มน้ำกินเป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ใช้เมล็ดประมาณ 10 กรัม โกฐเชียงประมาณ 10 กรัม เซียะเจียก เปลือกอบเชยจีน อย่างละประมาณ 1.5 กรัม และน้ำตาลประมาณ 10 กรัม นำไปคั่วให้เป็นถาน แล้วต้มเอากากออก อุ่นเอาแต่น้ำกิน สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปรกติ ไม่ใช่เกี่ยวกับโลหิตจาง ให้ใช้เมล็ดร่วมกัน ดอกคำฝอย โกฐเชียง รากพันงู ชนิดละเท่า ๆ กัน นำไปบดเป็นผงให้ละเอียดกิน หรือจะใช้ผสมกับเหล้าอุ่นกินขณะที่ท้องกำลังว่าง มีอาการตกเลือด ให้ใช้เมล็ด แกะเอาเปลือกและส่วนที่เหลือออก

         นำไปต้มแล้วใช้เซียะเจียก เปลือกอบเชยจีน โป่งรากสน และเปลือกต้นโบตั๋นชนิดละเท่า ๆ กัน นำไปบดเป็นผงนำมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ดเท่าปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด รักษาไข้มาลาเรีย ให้ใช้เมล็ดประมาณ 100 เม็ด ให้เอาเปลือกและส่วนที่แหลมออก ใส่นมแล้วบดให้เป็นของเหลวข้นใส่อึ่งตัง มี (Pb3o4 34.9%) 9 กรัม แล้วปั้นเป็นเม็ดเท่าถั่วเขียวกินครั้งละประมาณ 3 เม็ด ก่อนจับไข้ หรือเริ่มจับไข้กับเหล้าอุ่น ถ้าไม่กินเหล้าก็ให้กินกับน้ำแช่ดอกไม้แทนได้


        บรรเทาอาการปวดฟัน ให้ใช้เมล็ดนำไปเผา แล้วเอาไปกัดไว้ที่ฟันซี่ที่ปวด เป็นลมพิษ บวม ชัก หรือปวดท้อง ปวดเอว ให้ใช้เมล็ด คั่วจนมีควันสีดำ แล้วเอาไปบดจนเป็นของเหลวข้น ผสมเหล้ากิน แล้วนอนห่มผ้าให้มีเหงื่อออก ท้องผูก ใช้เมล็ด รากโงวจูยู้ เกลือแกง คั่วให้สุก แล้วแยกเอาเกลือกับโงวจูยู้ออก เอาเมล็ดท้อกินก่อนอน ตกเลือด และตกขาว ใช้เมล็ดเผาเป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผง แล้วใช้กินกับเหล้าวันละ 3 เวลา มีอาการไอและหอบ ใช้เมล็ดใส่น้ำ แล้วบดเอาแต่น้ำ ใส่ข้าวสารแล้วต้มเป็นข้าวต้มกิน เป็นแผลที่ช่องคลอด เจ็บคันคล้ายกับถูกแมลงกัด หรือมีอาการคันแทบจะทนไม่ได้ ใช้เมล็ดและใบในปริมาณเท่ากัน นำไปตำให้ละเอียด ใช้สำลีชุบสอดไว้แล้วเปลี่ยนวันละประมาณ 3-4 ครั้ง นอกจานี้ในเมล็ดยังมีสาร amygdalin ประมาณ 3.6% น้ำมันระเหยประมาร 0.4% และไขมันประมาณ 45% ในไขมันนั้นยังประกอบด้วย glyceride folinic aci, oleic acid และ glyceride ที่มี folinic acid จำนวนน้อย และยังมี emulsin เป็นต้น


        7. ยางจากต้น ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัม นำไปต้มกินหรือทำเป็นยาเม็ด หรือยาผงกิน ยางจากต้นนั้นจะมีรสขมชุ่มเป็นยารักษานิ่ว ปวดเจ็บ ใช้ยางจากต้น ในฤดูร้อนใช้กินกับน้ำเย็นฤดูหนาวกินกับน้ำแกงจืดวันละ 3 เวลา จนมีก้อนนิ่วหลุดออกมาจึงหยุดยา เป็นโรคบิดถ่ายเป็นมูกเลือดหลังคลอด ใช้ยางจากต้น นำไปผิงไฟให้แห้ง ไม้กฤษณา เกสรตัวผู้ดอกกกช้าง นำไปคั่วให้แห้ง ชนิดละเท่า ๆ กัน บดเป็นผง กินครั้งละ 6 กรัม หลังอาหาร โรคเบาหวาน ใช้ยางจากต้น โดยใช้น้ำอุ่นล้างให้สะอาด ต้มใส่เกลือเล็กน้อยกิน เป็นจุดด่างดำบนผิวหนัง ใช้ยางจากต้นต้มกิน คอแห้ง ใช้ยางจากต้น อมไว้ ยางจากต้นยังมีส่วนประกอบหลักคือ มีสาร galactose, rhamnose, glucuronic acid เป็นต้นข้อห้ามใช้ : 1. สารพิษพวกไซยาไนด์ จะมีอยู่ในใบ ดอก ผลดิบและเมล็ด ห้ามกินสดฉะนั้นก่อนที่ จะนำมากินต้องนำไปต้ม หรือดองก่อน จึงจะใช้กินได้

No comments:

Post a Comment